บทความฟุตบอล วิม ยานเซ่น ตำนานมิดฟิลด์ตลอดการของ “เซลติก”
สียชีวิตด้วยวัย 75 ปี ด้วยโรคสมองเสื่อม เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2565
บทความฟุตบอล วิม ยานเซ่น มิดฟิลด์ร่างเล็กที่ถือเป็นหนึ่งในคีย์มันของทัพ “อัศวินสีส้ม” ชุดรองแชมป์โลกปี 1974 และ 1978 รวมไปถึงการเป็นนักเตะระดับตำนานของ “เฟเยนูร์ด” ด้วยการพาทีมคว้าแชมป์ เอเรดิวิซี่ ถึง 4 สมัย , ดัตซ์ คัพ 1 สัมย รวมไปถึง แชมป์ ยูโรเปี้ยน คัพ , ยูฟ่า คัพ และ อินเตอร์คอนติเนนทัล คัพ อย่างละสมัย
แต่ทว่าอีกหนึ่งบทบาทที่ผู้คนจากทั่วทุกมุมโลกจดจำ “ยานเซ่น” ได้เป็นอย่างดีในโลกของฟุตบอลแล้วก็คือตำแหน่งผู้จัดการทีม ซึ่งจริง ๆ ก็นับว่าไม่ประสบความสำเร็จมากมายเหมือนสมัยที่ยังค้าแข้งกับ “เฟเยนูร์ด” ที่คว้าแชมป์บอลถ้วย 2 สมัย หรือ “โลเคอเรน” สโมสรจากลีกดัตช์ กับ “ซานเฟรเซ่ ฮิโรชิม่า” ในญี่ปุ่น ที่ไม่มีแชมป์ติดมือกลับบ้านมาเลย
อย่างไรก็ตาม สำหรับแฟนบอล “กลาสโกว เซลติก” แล้ว อดีตกองกลางผู้วายชนม์ถือเป็นหนึ่งในตำนานตลอดการของสโมสรอย่างแท้จริง แม้ว่าจะคุมทีมแค่ฤดูกาลเดียวเท่านั้น ว่าแต่ทำไมแฟนบอล “ม้าลายเขียวขาว” จึงคิดเช่นนั้น วันนี้ทาง Sport88 จะพาคุณไปฟังเรื่องราวของพวกเขาให้มากกว่านี้กัน ถ้าพร้อมแล้วเราไปอ่านกันต่อเลยดีกว่า
เคยเกือบสิ้นเนื้อประดาตัว
หากใครได้ติดตามข่าวฟุตบอลในช่วงนั้นจะทราบกันดีว่าใน “สกอตติช พรีเมียร์ลีก” มีเพียง 2 ทีมเท่านั้นที่มีสิทธิ์ลุ้นแชมป์ได้ในปีนั้น นั่นก็คือ “กลาสโกว เรนเจอร์” และ “กลาสโกว เซลติก” ซึ่งการห่ำหั่นนี้เกิดขึ้นมาอย่างยาวนานตั้งแต่ยุคก่อตั้งลีกในสกอตแลนด์ และมันยังคงดำเรื่อยมาจนถึงยุคปัจจุบัน แม้จะมีบางทีมหลุดโผขึ้นมาเป็นม้ามืดคว้าแชมป์ได้บ้าง แต่สุดท้าย 2 สโมสรจากกลาสโกวก็กลับมาทวงบรรลังแชมป์ในวงการลูกหนังแดนวิสกี้อยู่ดี
แน่นอนว่าทั้ง “เซลติก” และ “เรนเจอร์ส” ที่ทำศึกกันมานานร่วมทศวรรษ ก็มีบางช่วงที่ทีมใดทีมหนึ่งต่างครองความเป็นหนึ่งในประเทศได้อย่างชัดเจน และคงไม่ผิดนักหากจะบอกว่าช่วงปลายยุค 80s – 90s คือช่วงที่ “เรนเจอร์ส” มีความยิ่งใหญ่เหนือกว่า “เซลติก” อย่างชัดเจน
ทัพ “ม้าลายเขียวขาว” คว้าแชมป์ลีกครั้งสุดท้ายในปี 1988 รวมถึงแชมป์ “สกอตติช คัพ” ในปีเดียวกัน ทว่าหลังจากนั้นทีมก็ตกต่ำลงเป็นอย่างมาก จึงไม่แปลกใจที่จำเสียตำแหน่งอันดับหนึ่งของลีกให้กับ “เรนเจอร์ส” คู่ปรับตลอดกาลของพวกเขาในเวลาต่อมา
เมื่อไร้ความสำเร็จ นั่นหมายความว่าปัญหาใหญ่ของพวกเขาในตอนนี้คือการขาดรายได้ มันจึงส่งผลให้ “เซลติก” มีหนี้ก้อนใหญ่สะสมขึ้นเรื่อย ๆ จนมีท่าทีว่าจะไปต่อไม่ไหว
อย่างไรก็ตาม “เฟอรืกัส แม็คเคนน์” นักธุรกิจเชื้อสายสกอต แคนาเดี่ยน ก็เข้ามากู้วิกฤตทางด้านการเงินของพวกเขาด้วยการเทคโอเวอร์ “เซลติกๅ” ในปี 1994 ด้วยจำนวนเงินกว่า 9 ล้านปอนด์ แทนที่ กลุ่มครอบครัวตระกูล เคลลี่ , ไวท์ และ แกรนท์ ที่เป็นเจ้าของสโมสรมานานเกือบทศวรรษโดยมีรายงานว่าการเข้ามาของ “แม็คเคนน์” ช่วยให้ทีมหนีวิกฤตการล้มละลาย
นอกจากนี้ “แม็คเคนน์” ยังได้ก่อตั้งธุรกิจสโมสรขึ้นใหม่ในฐานะบริษัทมหาชน ในนาม “เซลติก พีแอลซี” และจัดการยกเครื่องรังใหม่ให้เป็นสนามแบบนั่งทั้งหมด จนมีความสามารถจุผู้ชมได้สูงสุด 60,832 ที่นั่ง
ออกสตาร์ทได้ไม่ดีนัก
ถึงว่าปัญหาทางการเงินของพวกเขาจะหมดไป แต่ความสำเร็จที่มีเพียงถ้วย “สกอนติช คัพ” ในปี 1995 ก็ส่งผลให้ “แม็คเคนน์” ถูกเหล่าบรรดาแฟนบอลวิพากษ์วิจาร์ณกันไปไปไม่น้อย และมองว่าเขาสนใจแต่เรื่องธุรกิจจากสโมสรมากจนเกินไป จนละเลยเรื่องในสนามไปอย่างสิ้นเชิง
ส่งผลให้ตำแหน่งผู้จัดการทีมมีการเปลี่ยนแปลงอีกครั้งในรอบ 3 ปี เมื่อ “ทอมมี่ เบิร์นส์” ที่ถูกปลดจากตำแหน่งกุนซือในปี 1997 ก่อนที่สโมสรจะจัดตั้ง “วิม ยานเซ่น” ขึ้นมาเป็นกุนซือคนใหม่ ซึ่งในตอนนั้นถือว่าเขาเป็นกุนซือคนแรกของสโมสรที่มาจากนอกสหราชอาณาจักร และไอร์แลนด์
กุนซือชาวดัตช์ รายนี้ได้ลิสต์รายการจัดทัพกันยกใหญ่ด้วยการคว้า ดาร์เรน แจ็คสัน , เคร็ก เบอร์ลีย์ , สเตฟาน มาเห่ , เรจี้ บลิงเกอร์ , พอล แลมเบิร์ต , โจนาธาน กูลด์ , มาร์ค รีเปอร์ รวมไปถึง เฮนริค ลาร์สสัน ดาวรุ่งที่เขาเคยได้ฝึกสอนมากับมือในสมัยที่ยังคุม “เฟเยนูร์ด” ให้มาเปิดโลกในแดนวิสกี้ด้วยกัน
ถึงแม้ว่าจะมีการรีโนเวททัพกันยกใหญ่ไปแล้ว แต่ผลงานในช่วงเริ่มต้นฤดูกาล 1997 – 1998 ของ “เซลติก” ต้องบอกว่าย่ำแย่ ด้วยการแพ้ 2 นัดต่อ “ฮิเบอร์เนี่ยน” และ “ดันเฟิร์มลีน” ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างจขากคู่แข่งตลอดการของพวกเขาอย่าง “เรนเจอร์ส” ของ “วอลเตอร์ สมิธ” ที่เล่นได้สมราคาเต็งแชมป์ ซึ่งกดไป 8 ประตู ได้ใน 2 เกม แรกเท่านั้น
จากเหตุการณ์ในครั้งนี้ผู้คนต่างมองว่ายุคมืดของ “เซลติก” อาจจะหวนกลับมาอีกครั้ง หลังจากที่ไม่สามารถไล่ตามคู่แข่งร่วมเมืองอย่าง “เรนเจอร์ส” ได้อีกในฤดูกาลนี้
กลับมาทวงบัลลังก์แชมป์ในรอบ 10 ปี
อย่างไรก็ตามในช่วงเวลาถัดจากนั้น “ยานเซ่น” ก็ค่อย ๆ ปลุกปั้น และขัดเกลาฝีมือฟอร์มของทีมในนัดต่อ ๆ มา ร่วมไปถึงนักเตะรุ่นเก๋าของทีมเริ่มปรับตัวกับแผนการเล่นของกุนซือชาวดัตช์รายนี้ได้จนสามารถทำผลงานได้ดีขึ้น
โดยเฉพาะ “ลาร์สสัน” ที่เจอฝันร้ายในช่วงต้นฤดูกาล ทั้งการจ่ายบอลให้คู่แข่งจนเสียประตูไปอย่างง่ายดายในเกม “ฮิเบอร์เนี่ยน” หรือการพลาดท่าทำบอลเข้าประตูตัวเองในเกม “ยูฟ่า คัพ” รอบคัดเลือกที่เจอกับ “ทิรอล อินส์บรุค” ก็ได้รับความเชื่อมั่นจาก กุนซือแดนกังหันลมจนสามารถพิสูจน์ตนได้ให้เห็นแล้วว่า ตัวเขาเองก็สามารถกลายเป็นแนวรุึกคนสำคัญให้กับทีมได้ในเวลาต่อมา
บวกกับการที่ “เรนเจอร์ส” มาตราฐานตกต่ำลงจากฤดูกาลที่ผ่านมาเป็นอย่างมาก ทำให้ “เซลติก” มีโอกาสทำคะแนนไล่จี้ท้ายได้อยู่เรื่อย ๆ จนทั้งกระทั่งในเกม “โอลด์ เฟิร์ม ดาร์บี้” นัดที่ 2 ของฤดูกาล ซึ่งทัพ “ม้าลายเขียวขาว” สามารถคว้าคะแนนไปจาก “เบอร์ลีย์” และ “แลมเบิร์ต” ด้วยสกอร์ 2-0 ส่งผลให้พวกเขาทะยานสู่หัวตารางในที่สุด
ทแต่ทว่ามีหรือที่ทีมคู่แข่งตลอดการอย่าง “เรนเจอร์ส” จะยอมดูอยู่เฉย ๆ พวกเขาได้เร่งฝีเท้าอย่างสุดกำลังไล่ตามพวกเขามาติด ๆ ในเกมต่อมา พร้อมทั้งยังเบียดกันขึ้นมาเป็นจ่าฝูงนับตั้งแต่เดือนมกราคมเป็นต้นมา
อย่างก็ตามในช่วงโค้งสุดท้ายของการแข่งขัน ถือว่าเป็นช่วงที่ต้องจับตาดูให้ดี เนื้องจากทั้ง 2 ทีมต่างผลัดกันทำแต้มหล่นแบบไม่น่าเชื้อในบางนัดทำให้คะแนนมีช่องว่างห่างกันไม่กี่แต้มเท่านั้น
แต่การพลาดท่าพ่าย “อเบอร์ดีน” ในเกมนัดที่ 33 ส่งผลให้ “เรนเจอร์ส” ต้องเสียคำแนนในการแซงคู่แข่งพวกเขาไปเป็นจำนวนมาก และในครั้งนั้นก็ทำให้ “เซลติก” สามารถไล่ตามมาทันทีที่ 66 คะแนนเท่ากัน
จริง ๆ แล้วในช่วงก่อนหน่้านี้ “เซลติก” เป็นฝ่ายพลาดท่าก่อนด้วยซ้ำ จากการเสมอ 2 เกมติดกับ “ฮิเบอร์เนี่ยน” และ “ดันเฟิร์มลิน” แต่การที่ทีมของ “สมิธ” พลาดท่าพ่าย “คิลมาร์น็อค” ในเกมรองสุดท้ายทำให้พวกถูกส่งลงมารั้งอันดับ 2 ในทันที
สรุปสุดท้าย “เซลติก” ได้ผงาดขึ้นมาคว้าแชมป์ลีกสกอนแลนด์ในนัดสุดท้าย หลังเอาชนะ “เซนต์ จอห์นสโตน” ด้วยสกอร์ 2 – 0 ซึ่งนอกจากจะเป็นการหยุดสถิติคว้าแชมป์ลีกในรอบ 10 ปี ของ “เรนเจอร์ส” ได้แล้ว นี่ยังเป็นแชมป์ลีกครั้งแรกในรอบทศวรรษอีกด้วย
ผู้ที่จะเป็นตำนานในดวงใจตลอดไป
ไม่เพียงแค่นั้น “ยานเซ่น” พาทีมคว้าแช้มป์สองสมัยในฤดูกาลเดียวกันด้วยการเอาชนะ “ดันดี ยูไนเต็ด” ด้วยสกอร์ 3 – 0 ใน “สกอตติช ลีก คัพ” และเกือบคว้าทริปเปิ้ลแชมป์อีกด้วย หากไม่พ่ายต่อ “เรนเจอร์ส” ในรอชิง “สกอตติช คัพ” เสียก่อน
ถึงแม้ในปีนั้นพวกเขาจะประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใด ตัดภาพมาที่กุนซือชาวดัตช์ ก็ได้ออกมาขู่ว่าจะลาออก เนื่องจากเกิดความยากลำบากในการทำงานร่วมกับ “จ็อค บราวน์” ผู้จัดการทีมทั่วไปของสโมสร และ “แม็คแคนน์” เจ้าของทีม
สุดท้ายแล้ว “ยานเซ่น” ก็เลือกที่จะหันหลังให้สโมสรด้วยการลาออกจากตำแหน่ง หลังพาทีมคว้าแชมป์ลีกได้เพียง 2 วัน โดยที่ “เมอร์โด้ แม็คเลาด์” มือขวาของกุนซือชาวดันช์รายนี้ ก็โดนไล่ออกทันทีหลังจากนั้น 1 สัปดาห์
ฤดูกาลที่ 1998 – 1999 “โยเซฟ เวนโฟลส” กุนซือชาวสโลวัก เข้ามาคุมทัพในถิ่น “เซลติก ปาร์ค” ซึ่งไม่เป็นที่ปลื้มใจของแฟนบอลเท่าไหร่นัก เพราะว่า “เวนโกลส” นำทีมตกรอบบอลถ้วนในทุกรายการ ทั้งยังปล่อยให้ทีมคู่แข่งตลอดการอย่าง “เรนเจอร์ส” แย่งตำแหน่งแชมป์ลีกกลับไปอีกครั้ง
และการที่ปล่อยให้กุนซือที่ไม่เคยประสบความสำเร็จที่ไหนมาก่อนอย่างเข้าคุมทัพ ผลมันจึงออกมาล้มเหลวอย่างที่หลาย ๆ คนคาดไว้ พร้อทั้งถูกปลดออกจากตำแหน่งกุนซือในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2000 จน “เคนนี่ ดัลกลิช” ต้องทำหน้าที่ขัดตาทัพ
กว่าที่ “เซลติก” จะครองการเป็นเบอร์หนึ่งในลีกสกอตแลนด์ ได้อีกครั้งก็ในช่วงที่ “มาร์ติน โอนีล” เข้ามาในฤดูกาลที่ 2000 – 2001 พร้อมคว้าแชมป์ทริปเปิ้ลลีกตั้งแต่ปีแรก
และการที่ “ม้าลายเขียวขาว” มาถึงจุดนี้ได้ นอกเหนือจาก “แม็คกินน์” ที่ช่วยแก้ปัญหาทางการเงินให้สโมสรแล้ว ชื่อของ “ยานเซ่น” ย่อมมีส่วนสำคัญไม่แพ้กัน ถึงกแม้ว่าการคว้า “ลาร์สสัน” มาร่วมทีม หรือการสู้ไม่ถอยจนพลิกสถานการณ์จนคว้าแชมป์ลีกในรอบ 10 ปี มาได้แล้ว
ด้วยผลงานที่เขาได้สร้างไว้มากมายจึงทำให้แฟนบอลของ “เซลติก” จะจดจำ “ยานเซ่น” ไปตลอดกาล ถึงแม้ว่าเขาจะเข้ามาทำหน้าที่นี้ได้เพียงแค่ฤดูกาลเดียวก็ตาม
ติดตามข่าวสารฟุตบอลไปกับเรา คลิก
ห้ามพลาด !!
อัพเดทข่าวสารแวดวงกีฬาพร้อมทีเด็ดแม่นๆจากกูรูชั้นนำ
คลิกเลย @Sport88s